Website
1166
facebook
twitterx
youtube
Instagram
pantip
TikTok
line
connect








ศูนย์ปฏิบัติการพิเศษสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

     2,371 views

โครงสร้าง

          

อำนาจหน้าที่
          ๑. ศูนย์ปฏิบัติการพิเศษเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
               ๑.๑ รับเรื่องร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมอันเนื่องมาจากผู้ประกอบธุรกิจฝ่าฝืนหรือไม่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ เฉพาะเรื่องที่สำคัญหรือประชาชนสนใจหรือตามที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการ และดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์ของผู้บริโภคดังกล่าวให้เสร็จสิ้นอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรม
               ๑.๒ ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่ได้รับแจ้งเบาะแส และดำเนินการให้ความช่วยเหลือหรือคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ณ สถานที่เกิดเหตุ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตลอดจนดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการคุ้มครองผู้บริโภค
               ๑.๓ ตรวจสอบการประกอบธุรกิจการขายสินค้าหรือการให้บริการ ติดตามสอดส่องพฤติการณ์ของผู้ประกอบธุรกิจที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการกระทำผิดกฎหมายเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย
               ๑.๔ เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็ว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น หรือในกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน
               ๑.๕ เป็นหน่วยเตรียมความพร้อมทักษะพิเศษเฉพาะด้านการบังคับใช้กฎหมายให้แก่เจ้าหน้าที่ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้มีศักยภาพในการสืบสวน ตรวจค้น และการดำเนินการในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติมและพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
               ๑.๖ บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสืบสวน หาข่าว ติดตามความเคลื่อนไหวของปัญหาด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมและมีความปลอดภัยจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการ
               ๑.๗ ปฏิบัติงานอื่นใดร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือตามที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคหรือเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมอบหมาย
          ๒. การแบ่งงานภายใน แบ่งออกเป็น ๓ หน่วยงาน ดังนี้
               ๒.๑ ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
                       (๑) รับผิดชอบงานด้านการบริหารทั่วไปของศูนย์
                       (๒) ดำเนินการด้านธุรการและงานสารบรรณ
                       (๓) ดำเนินการด้านบุคลากร การลา และสวัสดิการ รวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่างๆ 
                       (๔) ดำเนินการด้านแผนยุทธศาสตร์ งบประมาณ และตัวชี้วัด
                       (๕) ดำเนินการด้านการเงิน บัญชี และพัสดุ
                       (๖) ดำเนินการด้านจัดประชุมและพิธีการ
               ๒.๒ ฝ่ายปฏิบัติการพิเศษ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
                       (๑) รับเรื่องร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมอันเนื่องมาจากผู้ประกอบธุรกิจฝ่าฝืนหรือไม่ดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ และพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ เฉพาะเรื่องที่สำคัญหรือประชาชนสนใจหรือตามที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการ และดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องทุกข์ของผู้บริโภคดังกล่าวให้เสร็จสิ้นอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นธรรม
                       (๒) ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่ได้รับเรื่องร้องทุกข์หรือรับแจ้งเบาะแส และดำเนินการให้ความช่วยเหลือหรือคุ้มครองผู้สิทธิผู้บริโภค ณ สถานที่เกิดเหตุทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ตลอดจนดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้
                       (๓) สืบสวน หาข่าว ติดตามความเคลื่อนไหวปัญหาการละเมิดสิทธิผู้บริโภคเพื่อพิสูจน์ทราบตัวผู้กระทำผิด และพฤติการณ์การกระทำความผิดเพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษ หรือเสนอคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคพิจารณาดำเนินคดีอาญา
                       (๔) วิเคราะห์ข้อมูลการฝ่าฝืนกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อกำหนดแนวทางหรือมาตรการในการป้องกันปราบปรามการฝ่าฝืนกฎหมายของผู้ประกอบธุรกิจ
                       (๕) ในกรณีที่เกิดสถานการณ์หรือมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับภารกิจที่รับผิดชอบหรือที่ได้รับการร้องขอ ให้เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็ว เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน และทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
                       (๖) จัดทำฐานข้อมูลสำนวนคดี ประวัติผู้กระทำความผิด เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินคดีตามกฎหมาย
                       (๗) รวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ และแก้ไขเพิ่มเติม เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทำความผิด
                       (๘) ปฏิบัติงานอื่นใดร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติการของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
               ๒.๓ ฝ่ายบูรณาการภารกิจพิเศษ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้
                       (๑) ดำเนินการวางแผนและปฏิบัติงานเชิงรุกตามนโยบายของรัฐบาล หรือตามที่ได้รับหมอบหมาย
                       (๒) บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสืบสวน หาข่าว และแลกเปลี่ยนข้อมูลการกระทำความผิดของผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อกำหนดแนวทางหรือมาตรการในการป้องกันและปราบปรามละเมิดสิทธิของผู้บริโภคหรือการฝ่าฝืนกฎหมายของผู้ประกอบธุรกิจ
                       (๓) ประสานงานร่วมกับส่วนราชการ คณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนภูมิภาค เพื่อแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคตามอำนาจหน้าที่
                       (๔) ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนในภารกิจที่มีความยุ่งยากซับซ้อนในการบังคับใช้กฎหมาย หรือการแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อประโยชน์ต่อการดำเนินคดีตามกฎหมาย
                       (๕) เตรียมความพร้อมทักษะพิเศษเฉพาะด้านการบังคับใช้กฎหมายให้แก่เจ้าหน้าที่ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้มีศักยภาพในการสืบสวน ตรวจค้น และการดำเนินการในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                       (๖) ปฏิบัติงานอื่นใดร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

( )