Website
1166
facebook
twitterx
youtube
Instagram
pantip
TikTok
line
connect








กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา

     7,198 views

โครงสร้าง



อำนาจหน้าที่
          กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
          (1) ดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการโฆษณาสินค้าและบริการตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค
          (2) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา และคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาแต่งตั้ง
          (3) ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์ของผู้บริโภคในส่วนที่เกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าและบริการ
          (4) ดำเนินการตรวจสอบข้อความโฆษณาสินค้าและบริการในสื่อโฆษณาตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค
          (5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา แบ่งออกเป็น 5 หน่วยงาน ดังนี้

1. ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

1) รับผิดชอบดำเนินงานด้านการบริหารทั่วไปของหน่วยงาน

                   2) งานสารบรรณ รับ-ส่ง บริการค้นหา/จัดเก็บ รวบรวมข้อมูล ร่าง-พิมพ์หนังสือและเอกสารราชการ จัดทำสำเนาเอกสาร ทำลายเอกสาร

                   3) ดำเนินงานเกี่ยวกับการกำกับดูแลวัสดุ ครุภัณฑ์หน่วยงาน

                   4) ดำเนินการเกี่ยวกับการลาประเภทต่าง ๆ ของบุคลากร

                   5) งานอำนวยการ/ประสานราชการ ติดต่อประสานราชการหรือหน่วยงานภายนอก

                   6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

          2. ฝ่ายควบคุม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

1) ดำเนินการตรวจสอบข้อความโฆษณาตามที่ได้รับแจ้งเบาะแส

                   2) ให้คำปรึกษา แนะนำแก่ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัดทำโฆษณาให้ถูกต้อง

                   3) วางนโยบายเชิงรุกในการตรวจสอบข้อความโฆษณาสินค้าและบริการ

                   4) ยกร่าง ปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมระเบียบ ประกาศ คำสั่ง คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา

                   5) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา คณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาแต่งตั้ง และคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงานต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

                   6) ดำเนินการจัดประชุมสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าและบริการ

                   7) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

          3. ฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                   1) ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์ของผู้บริโภคในส่วนที่เกี่ยวกับการโฆษณาสินค้า และโฆษณาบริการทั่วไปตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่ไม่ใช่บริการในธุรกิจควบคุมสัญญาหรือธุรกิจควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน

                   2) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภค และคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

                   3) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

          4. ฝ่ายเฝ้าระวังตรวจสอบโฆษณา มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                   1) ดำเนินการตรวจสอบข้อความโฆษณาทางสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์ (ทีวีดิจิตอล เคเบิลทีวี โทรทัศน์ดาวเทียม) วิทยุกระจายเสียง ป้ายโฆษณา อินเทอร์เน็ต สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เป็นต้น

                   2) ดำเนินการตรวจสอบการโฆษณาขายสินค้าหรือบริการ ติดตามและสอดส่องพฤติการณ์ของผู้ประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ รวมถึงการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ถือว่าเป็นธุรกิจตลาดแบบตรง ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕

                   3) ดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อความโฆษณาที่ตรวจสอบแล้วพบว่าไม่ถูกต้อง เพื่อนำไปสู่กระบวนการพิจารณาของคณะอนุกรรมการและคณะกรรมการ

                   4) สรุปผล/สถิติในการตรวจสอบข้อความโฆษณา

                   5) ส่งเรื่องการตรวจสอบข้อความโฆษณาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ

                   6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

          5. ฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภคด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

                   1) ดำเนินการรับเรื่องร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมอันเนื่องมาจากผู้ประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ รวมถึงการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ถือว่าเป็นธุรกิจตลาดแบบตรง ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕

                   2) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ตามที่ได้รับมอบหมาย

                   3) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย


( )