Website
1166
facebook
twitterx
youtube
Instagram
pantip
TikTok
line
connect








กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก

     4,765 views

โครงสร้าง



อำนาจหน้าที่
          กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
          (1) ดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านฉลากตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค
          (2) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก และคณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการว่าด้วยฉลากแต่งตั้ง
          (3) ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์ของผู้บริโภคในส่วนที่เกี่ยวกับฉลากสินค้า
          (4) ดำเนินการตรวจสอบข้อความของฉลากสินค้าตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค
          (5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก แบ่งออกเป็น 4 หน่วยงาน ดังนี้

          1. ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

          (1) รับผิดชอบดำเนินงานด้านการบริหารทั่วไปของหน่วยงาน

          (2) งานสารบรรณ รับ-ส่ง บริการค้นหา/จัดเก็บ รวบรวมข้อมูล ร่าง-พิมพ์หนังสือและเอกสารราชการ จัดทำสำเนาเอกสาร ทำลายเอกสาร

          (3) ดำเนินงานเกี่ยวกับการกำกับดูแลวัสดุ ครุภัณฑ์หน่วยงาน

          (4) ดำเนินการเกี่ยวกับการลาประเภทต่าง ๆ ของบุคลากร

          (5) งานอำนวยการ/ประสานราชการ ติดต่อประสานราชการหรือหน่วยงานภายนอก

          (6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

          2. ฝ่ายควบคุม มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

          (1) ดำเนินการตรวจสอบข้อความของฉลากสินค้า

          (2) ยกร่าง ปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติมระเบียบ ประกาศคำสั่งคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก

          (3) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก คณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการว่าด้วยฉลากแต่งตั้ง และคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

          (4) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

          3. ฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

          (1) ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องทุกข์ของผู้บริโภคในส่วนที่เกี่ยวกับฉลากสินค้าและสินค้าทั่วไปที่ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์ ไม่ใช่สินค้าในธุรกิจควบคุมสัญญาหรือธุรกิจควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงินตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

          (2) ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภค และคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

          (3) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

          4. ฝ่ายเฝ้าระวังและพิสูจน์สินค้าและบริการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

          (1) ดำเนินการตรวจสอบและพิสูจน์สินค้าและบริการทั่วไปเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค รวมทั้งสินค้าและบริการที่ไม่ปลอดภัย

          (2) แจ้งเตือนภัยเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่ไม่ปลอดภัย

          (3) เสนอคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อพิจารณาดำเนินการเรียกคืนสินค้าที่ไม่ปลอดภัย

          (4) เสนอคณะกรรมการเฉพาะเรื่องเพื่อพิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่

          (5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย




( )