Website
1166
facebook
twitterx
youtube
Instagram
pantip
TikTok
line
connect








ศูนย์เฝ้าระวังการคุ้มครองผู้บริโภค

     2,684 views

โครงสร้าง



อำนาจหน้าที่

          1. ศูนย์เฝ้าระวังการคุ้มครองผู้บริโภค มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

          1.1 เฝ้าระวังสินค้าหรือบริการที่อาจเป็นอันตรายและเก็บตัวอย่างสินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคกรณีสินค้ามีการวางจำหน่ายในท้องตลาดหรือสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน หรือสินค้าที่ยังไม่มีหน่วยงานใดดูแลรับผิดชอบชัดเจน รวมถึง สินค้าจากกรณีเรื่องร้องทุกข์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่ไม่ปลอดภัยเพื่อทดสอบหรือพิสูจน์สินค้า รวมทั้งสรุปและวิเคราะห์ข้อมูลผลการทดสอบสินค้าตามหลักวิชาการ พร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะหรือแนวทางและมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ

          1.2 สนับสนุนข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยสินค้าที่ไม่ปลอดภัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ

          1.3 ตรวจสอบการโฆษณาสินค้าหรือบริการทางสื่อต่างๆ รวมถึงการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่อาจเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (พ.ศ. 2560) หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะทางสื่อวิทยุโทรทัศน์ (TV) และสื่ออินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ไลน์ อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ และอื่นๆ โดยนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายว่ามีการโฆษณาที่เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 หรือไม่ อย่างไรแล้วส่งให้กองผู้รับผิดชอบดำเนินการ หรือหากพบว่าเป็นการโฆษณาที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกฎหมายอื่นให้ส่งเรื่องให้หน่วยงานนั้นๆ พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่

          1.4 รวบรวมข้อเท็จจริงรวมทั้งจัดทำเอกสารหลักฐานในเบื้องต้นจากการตรวจสอบทั้งหมด และนำส่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณา

          1.5 ปฏิบัติงานอื่นใดร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

          2. การแบ่งงานภายใน แบ่งออกเป็น 3 หน่วยงาน ดังนี้

          2.1 ฝ่ายงานบริหารทั่วไป มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

               (1) รับผิดชอบดำเนินงานด้านการบริหารทั่วไปของศูนย์

               (2) งานสารบรรณ รับ-ส่ง บริหารค้นหา/จัดเก็บ รวบรวมข้อมูล ร่าง-พิมพ์หนังสือและเอกสารราชการ จัดทำสำเนาเอกสาร ทำลายเอกสาร

               (3) ดำเนินงานเกี่ยวกับการกำกับดูแลวัสดุ ครุภัณฑ์ศูนย์

               (4) ดำเนินการเกี่ยวกับการลาประเภทต่างๆ ของบุคลากร

               (5) งานอำนวยการ/ประสานราชการ ติดต่อประสานราชการหรือหน่วยงานภายนอก

               (6) ปฏิบัติงานอื่นใดร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

          2.2 ฝ่ายงานเฝ้าระวังและตรวจสอบโฆษณา มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

               (1) ตรวจสอบการโฆษณาสินค้าหรือบริการทางสื่อต่างๆ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุโทรทัศน์ (TV) โดยนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ในประเด็นข้อเท็จจริงได้แก่ ประเภทสินค้าหรือบริการ สถานภาพผู้ประกอบการข้อกฎหมายว่ามีการโฆษณาที่เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 หรือไม่ อย่างไรแล้วส่งให้กองผู้รับผิดชอบดำเนินการ หากพบว่าเป็นการโฆษณาที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกฎหมายอื่นให้ส่งเรื่องให้หน่วยงานนั้นๆ พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป

               (2) ตรวจสอบการโฆษณาสินค้าหรือบริการของผู้ประกอบธุรกิจตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทางสื่ออินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ไลน์ อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ และอื่นๆ โดยนำข้อมูลดังกล่างมาวิเคราะห์ในประเด็นข้อเท็จจริงได้แก่ ประเภทสินค้าหรือบริการ ช่องทางการขาย ช่องทางการชำระเงิน สถานภาพผู้ประกอบการ ข้อกฎหมายว่าการโฆษณาซึ่งเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 หรือไม่ อย่างไร และส่งให้กองผู้รับผิดชอบดำเนินการ หรือพบว่าเป็นการโฆษณาที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกฎหมายอื่นให้ส่งเรื่องให้หน่วยงานนั้นๆ พิจารณาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่

               (3) ปฏิบัติงานอื่นใดร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

          2.3 ฝ่ายงานเฝ้าระวังและตรวจสอบสินค้าและบริการ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

               (1) สืบค้น รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลสินค้าและบริการที่อาจไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมเสนอแนวทาง วิธีการ การทดสอบพิสูจน์สินค้าให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

               (2) จัดทำแผนการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายเฝ้าระวังและพิสูจน์สินค้าและบริการ กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก

               (3) ลงพื่นที่ตรวจสอบสินค้าและบริการและสุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายเฝ้าระวังและพิสูจน์สินค้าและบริการ กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก

               (4) สอบถามไปยังผู้ประกอบธุรกิจ ได้แก่ กลุ่มยานยนต์ กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า กลุ่มเฟอร์นิเจอร์ กลุ่มเครื่องใช้ในครัวเรือน และตรวจสอบข้อมูลทางเว็บไซต์ เกี่ยวกับการเรียกคืนสินค้าและความไม่ปลอดภัยของสินค้าและบริการ ในแต่ละเดือน

               (5) สรุปผลการดำเนินการเกี่ยวกับความไม่ปลอดภัยของสินค้าและบริการ และนำข้อมูลไปเผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ เฟซบุ๊ก หรือช่องทางอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

               (6) รวบรวมข้อเท็จจริงทั้งจัดทำเอกสารหลักฐานในเบื้องต้นจากการตรวจสอบทั้งหมดและนำส่งเจ้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณา

               (7) ปฏิบัติงานอื่นใดร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย



( )