Website
1166
facebook
twitterx
youtube
Instagram
pantip
TikTok
line
connect








ข้อแนะนำ

28 ก.ย. 2565

๔. ข้อแนะนำ

๔.๑ การเลือกซื้อสินค้าเกษตร

การเลือกซื้อสินค้าเกษตรควรเลือกซื้อสินค้าเกษตรที่มีเครื่องหมาย Q คือ เป็นเครื่องหมายรับรองมาตรฐานใช้แสดงกับสินค้าเกษตรเพื่อเป็นการรับรองเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ วิธีการผลิต คุณภาพหรือคุณลักษณะอื่นใด ของสินค้าเกษตรซึ่งมีความสำคัญในการสื่อสารไปยังผู้บริโภค หรือผู้ซื้อให้เกิดการยอมรับเชื่อมั่น และเชื่อถือต่อสินค้าเกษตร ว่ามีมาตรฐาน คุณภาพ และความปลอดภัย ซึ่งสินค้าที่แสดงเครื่องหมาย Qพร้อมรหัส เพื่อแสดงว่าได้รับการรับรองคุณภาพ มาตรฐานความปลอดภัยตามที่มีกำหนดไว้ โดยรหัสใต้เครื่องหมาย Q จะบ่งบอกชื่อผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน รหัสมาตรฐานสินค้าเกษตรที่ให้การรับรอง ชื่อผู้ได้รับใบรับรอง

วิธีการเลือกซื้อสินค้า Q

(๑) สังเกตจากสินค้าเกษตรที่มี เครื่องหมาย Q ติดอยู่ที่บรรจุภัณฑ์หรือป้ายสินค้า

(๒) Scan QR Code ตรวจสอบเเหล่งที่มาของสินค้าเกษตรเพื่อความมั่นใจ

(๓) เป็นเครื่องหมายที่สร้างความเชื่อมั่นในการเลือกซื้อสินค้าเเก่ผู้บริโภค

(๔) เลือกสินค้าเกษตรปลอดภัยมั่นใจเครื่องหมาย Q



สืบค้น สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) www.acfs.go.th



******************************


๔.๒ ข้อแนะนำในการเลือกซื้อปุ๋ย

เพื่อให้การเลือกซื้อปุ๋ยที่มีคุณภาพ ผู้บริโภคควรปฏิบัติ ดังต่อนี้

(๑) ก่อนซื้อควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเพื่อตัดสินใจว่า ควรจะซื้อปุ๋ยสูตรใด ตราใด จำนวนเท่าใด

(๒) ควรซื้อโดยการรวมกลุ่มกันซื้อโดยตรงจากบริษัทที่ไว้ใจได้ โดยให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้ประสานงานให้

(๓) ซื้อจากร้านค้าที่เชื่อถือได้โดยเฉพาะร้านที่มีสัญลักษณ์ Q-Shop ของกรมวิชาการเกษตร

(๔) หากจำเป็นต้องการซื้อรายย่อย ควรดำเนินการดังนี้

– บอกสูตร ตรา และจำนวนที่ต้องการแก่ผู้ขาย

– ตรวจสอบข้อความบนกระสอบปุ๋ยว่าเป็นปุ๋ยชนิดที่ต้องการหรือไม่

– ตรวจสอบสภาพกระสอบว่าใหม่และเรียบร้อยไม่มีรอยฉีกขาดหรือรอยเย็บใหม่

– ตรวจสอบดูว่าแต่ละกระสอบมีน้ำหนักครบ ๕๐ กิโลกรัมหรือไม่

– ขอเอกสารกำกับปุ๋ย และใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายด้วย

สูตรปุ๋ย หรือ เกรดปุ๋ย คือ ตัวเลขที่บอกถึงปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยนั้น ๆ ซึ่งตัวเลข ดังกล่าวจะแสดงไว้ข้างกระสอบปุ๋ย โดยปกติจะมี ๓ ตัวเลข ดังต่อไปนี้

(๑) ตัวเลขที่หนึ่งจะบอกถึงเปอร์เซ็นต์ของไนโตรเจนในปุ๋ยนั้น

(๒) ตัวเลขที่สองจะบอกถึงเปอร์เซ็นต์ของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในปุ๋ยนั้น

(๓) ตัวเลขที่สามจะบอกถึงเปอร์เซ็นต์ของโพแทสเซียมในปุ๋ยนั้น



สืบค้น กรมวิชาการเกษตร www.doa.go.th

 

******************************


๔.๓ การแสดงฉลากวัตถุอันตราย

วัตถุอันตรายที่ผลิต ขาย หรือมีไว้ในครอบครองในประเทศจะต้องแสดงฉลากไว้ ที่ภาชนะบรรจุหรือหีบห่อบรรจุวัตถุอันตรายทุกชิ้น และฉลากดังกล่าวจะต้องมีเครื่องหมายและข้อความดังต่อไปนี้

(๑) ชื่อสารสําคัญที่เป็นวัตถุอันตรายให้ระบุเป็นชื่อสามัญ ชื่อทางเคมี หรือชื่อทางเคมีระบบอื่น ๆที่เป็นที่ยอมรับ หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์

(๒) อัตราส่วนของสารสําคัญที่เป็นวัตถุอันตราย

(๓) ชื่อทางการค้า (ถ้ามี)

(๔) ประโยชน์

(๕) วิธีใช้

(๖) คําเตือน หรือข้อควรระวัง (ใช้อักษรทึบหรือขีดเส้นใต้)

(๗) วิธีเก็บรักษา

(๘) อาการเกิดพิษ (ถ้ามี)

(๙) วิธีแก้พิษเบื้องต้น (ถ้ามี)

(๑๐) คําแนะนําสําหรับแพทย์ (ถ้ามี)

(๑๑) วันหมดอายุการใช้ (ถ้ามี)

(๑๒) การทําลายภาชนะบรรจุ (ถ้ามี)

(๑๓) เลขทะเบียนวัตถุอันตราย (กรณีที่เป็นวัตถุอันตรายที่ต้องขึ้นทะเบียน) หรือเลขที่รับแจ้ง (กรณีที่เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ ๑)

(๑๔) ขนาดบรรจุ ให้แสดงหน่วยน้ำหนักหรือปริมาตรในระบบเมตริก กรณีของแข็งให้ใช้หน่วยน้ำหนักกรณีของเหลวให้ใช้หน่วยปริมาตรหรือหน่วยน้ำหนัก

(๑๕) ชื่อ ที่ตั้ง และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ผลิตในประเทศ (กรณีผลิต) หรือชื่อ ที่ตั้ง และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้นําเข้า พร้อมชื่อผู้ผลิตในต่างประเทศและประเทศผู้ผลิต (กรณีนําเข้า)

(๑๖) ชื่อ ที่ตั้ง และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ค้าส่งหรือผู้จัดจําหน่าย (ถ้ามี)

(๑๗) วัน เดือน ปี ที่ผลิต

(๑๘) เลขหรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต

(๑๙) รูปสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตราย (hazard pictograms) คําสัญญาณ (signal words)ข้อความแสดงความเป็นอันตราย (hazard statements)

ข้อความบนฉลากต้องมีลักษณะดังนี้

(๑) ข้อความที่เป็นชื่อสารสําคัญที่เป็นวัตถุอันตรายให้ระบุเป็นชื่อสามัญ ชื่อทางเคมี หรือชื่อทางเคมีระบบอื่น ๆ ที่เป็นที่ยอมรับ หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

(๒) ข้อความอัตราส่วนของสารสําคัญที่เป็นวัตถุอันตราย เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ

(๓) ข้อความที่เป็นชื่อทางการค้า (ถ้ามี) ประโยชน์ วิธีใช้ คําเตือน หรือข้อควรระวัง (ใช้อักษรทึบหรือขีดเส้นใต้) วิธีเก็บรักษา อาการเกิดพิษ (ถ้ามี) วิธีแก้พิษเบื้องต้น (ถ้ามี) คําแนะนําสําหรับแพทย์ (ถ้ามี)วันหมดอายุการใช้ (ถ้ามี) การทําลายภาชนะบรรจุ (ถ้ามี) เลขทะเบียนวัตถุอันตราย (กรณีที่เป็นวัตถุอันตรายที่ต้องขึ้นทะเบียน) หรือเลขที่รับแจ้ง (กรณีที่เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ ๑) ขนาดบรรจุ ให้แสดงหน่วยน้ำหนักหรือปริมาตรในระบบเมตริก กรณีของแข็งให้ใช้หน่วยน้ำหนัก กรณีของเหลวให้ใช้หน่วยปริมาตรหรือหน่วยน้ำหนักชื่อ ที่ตั้ง และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ผลิตในประเทศ (กรณีผลิต) หรือชื่อ ที่ตั้ง และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้นําเข้าพร้อมชื่อผู้ผลิตในต่างประเทศและประเทศผู้ผลิต (กรณีนําเข้า) ชื่อ ที่ตั้ง และหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ค้าส่งหรือผู้จัดจําหน่าย (ถ้ามี) วัน เดือน ปี ที่ผลิต เลขหรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต รูปสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตราย(hazard pictograms) คําสัญญาณ (signal words) ข้อความแสดงความเป็นอันตราย (hazard statements)ต้องเป็นภาษาไทย

(๔) การแสดงเลขทะเบียนวัตถุอันตราย ให้มีรายละเอียดของข้อความและเครื่องหมายตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

(๔.๑) ให้แสดงเลขทะเบียนวัตถุอันตรายในกรอบเครื่องหมาย อย.

(๔.๒) ให้แสดงสีกรอบของเครื่องหมาย สีของอักษร วอส. และเลขทะเบียนเป็นสีตัดกับสีพื้นของฉลาก

(๔.๓) ขนาดของตัวอักษร วอส. และเลขทะเบียนให้มีขนาดเหมาะสมกับพื้นที่ของฉลาก

และต้องไม่เล็กกว่า ๑ มิลลิเมตร

(๕) รูปสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตราย สัญญาณ และข้อความแสดงความเป็นอันตราย ต้องมีขนาดเหมาะสมและสามารถมองเห็นได้ชัดเจน

(๖) ชื่อทางการค้าภาษาไทยจะต้องมีขนาดเหมาะสม เห็นได้ชัดเจนและหากมีชื่อทางการค้าภาษาต่างประเทศ จะต้องตรงกันหรือมีความหมายอย่างเดียวกันกับชื่อทางการค้าภาษาไทย

(๗) ข้อความที่เป็นสาระสําคัญที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้บริโภค ได้แก่ คําเตือน ข้อควรระวังและวิธีใช้ ถ้าจะมีภาษาอื่นด้วย จะต้องมีความหมายตรงกันกับความในภาษาไทย

(๘) ข้อความ ประโยชน์ วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คําแนะนําสําหรับแพทย์ (ถ้ามี) อาจอยู่ในฉลากหีบห่อบรรจุหรือใบแทรกได้

(๙) ในกรณีที่ภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายมีขนาดเล็กมากจนไม่อาจแสดงข้อความได้ทั้งหมด ฉลากที่จะปิดบนภาชนะดังกล่าวอย่างน้อยจะต้องแสดงข้อความ ชื่อสารสําคัญที่เป็นวัตถุอันตรายให้ระบุเป็นชื่อสามัญชื่อทางเคมี หรือชื่อทางเคมีระบบอื่น ๆ ที่เป็นที่ยอมรับ หรือชื่อทางวิทยาศาสตร์ อัตราส่วนของสารสําคัญที่เป็นวัตถุอันตราย ชื่อทางการค้า (ถ้ามี) และรูปสัญลักษณ์ แสดงความเป็นอันตราย (hazard pictograms) ส่วนข้อความอื่น ๆ ให้แสดงในฉลากหีบห่อบรรจุหรือใบแทรกได้

(๑๐) ขนาดของตัวอักษรต้องไม่น้อยกว่า ๑ มิลลิเมตร และอ่านได้ชัดเจน

(๑๑) การแสดงข้อความบนฉลากของวัตถุอันตราย ต้องไม่เป็นเท็จหรือเกินความจริง หรือในทํานองโอ้อวดสรรพคุณ หรือทําให้เข้าใจผิดในสาระสําคัญ



ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบพ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๔

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ฉลากของวัตถุอันตรายที่สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยารับผิดชอบพ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๕



******************************

 

๔.๔ การเลือกซื้อวัตถุอันตรายทางการเกษตร

(๑) ซื้อสินค้าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมวิชาการเกษตร

(๒) ซื้อจากร้านที่เชื่อถือได้ ไม่ซื้อจากรถเร่ หรือ พ่อค้าเร่

(๓) อ่านฉลาก ดูชื่อสามัญ ประโยชน์ วิธีใช้ ก่อนตัดสินใจซื้อ

(๔) ซื้อในปริมาณที่พอเหมาะกับการใช้

(๕) ตรวจดูวันที่ผลิต ไม่เกินสองปี สภาพภาชนะบรรจุไม่เก่า เสื่อม

(๖) ตรวจดูภาชนะบรรจุไม่รั่วไหล ไม่แบ่งขาย หรือถ่ายลงภาชนะอื่น

(๗) ไม่ซื้อสินค้าที่อ้างว่าเป็นสูตรพิเศษหรือ ราคาถูกกว่าที่ควรจะเป็น

(๘) ไม่เป็นสารที่ห้ามนำเข้า ห้ามผลิต หรือห้ามจำหน่าย เช่น โมโนโครโตฟอส เมทามิโดฟอสเอ็นโดซัลแฟน พาราไธออน เป็นต้น



สืบค้นจาก กลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ กรมวิชาการเกษตร | Facebook


******************************



( ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ )