Website
1166
facebook
twitterx
youtube
Instagram
pantip
TikTok
line
connect








สคบ. ร่วมประชุมทวิภาคีด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ไทย-เกาหลี และพิธีลงนามความร่วมมือ ไทย-เกาหลี

25 พ.ค. 2566


เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (นายอุฬาร จิ๋วเจริญ) พร้อมด้วยคณะผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และผู้แทนจากสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปยังสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อเข้าร่วมโครงการสร้างความตกลงร่วมมือในกระบวนการระงับข้อพิพาทของผู้บริโภค การเยียวยาผู้บริโภคข้ามแดนและการจัดการความปลอดภัยของสินค้าระหว่างประเทศคู่เจรจาระดับทวิภาคี กิจกรรมที่ 3 การประชุมทวิภาคีด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ไทย-เกาหลี และพิธีลงนามความร่วมมือ ไทย-เกาหลี ณ องค์กรผู้บริโภคแห่งเกาหลี Korea Consumer Agency: KCA จังหวัดชุงชองบุกโด สาธารณรัฐเกาหลี 


ซึ่งมีข้อสรุปการประชุมระหว่าง KCA

  1.  ประเด็นการปรับแก้ MoU ที่ได้มีการลงนามร่วมกันในวันนี้ ซึ่งมีผลผูกพันเป็นระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่ลงนาม โดยรายละเอียดที่สำคัญคือ (1) เพิ่มการแลกเปลี่ยนข้อมูลสินค้าที่ไม่ปลอดภัย (2) ร่วมกันจัดโครงการหรือกิจกรรมเพื่อให้ความรู้และสร้างความตระหนักแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับความปลอดภัยของสินค้าและบริการ และ (3) ให้พยายามร่วมมือกันทางด้านเทคนิคในการเยียวยาความเสียหายแก่ผู้บริโภคจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และการเยียวยาผู้บริโภคข้ามแดน
  2. ประเด็นการแก้ไขปัญหาที่มีกระบวนการคล้ายกันทั้งสองประเทศ แต่ KCA อยากให้ OCPB ลดในส่วนของเอกสารยืนยันตัวตน เพราะประชาชนเกาหลีสามารถยืนยันตัวตนได้โดยไม่ต้องใช้เอกสาร แต่ในกรณีที่ต้องฟ้องร้องดำเนินคดีนั้น ระบบศาลของไทยยังไม่มีการแก้ไขในส่วนนี้จึงยังคงต้องเรียกดูเอกสารดังกล่าว แต่ที่ผ่านมา KCA มีความพึงพอใจต่อการประสานงานของ OCPB เป็นอย่างดี ทั้งนี้ การนำ ODR มาใช้ยิ่งทำให้การแก้ไขปัญหานั้นรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
  3.  ประเด็นการเรียกคืน (recall) สินค้าที่ไม่ปลอดภัย KCA อยากให้ OCPB เข้าใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลของ KCA ด้วย เพราะ OCPB หาข้อมูลจากเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือจากแหล่งอื่นเพื่อแปลเป็นภาษาไทยอยู่แล้ว ซึ่ง KCA ยังได้ชื่นชมข้อมูลการแจ้งเตือนสินค้าที่ปลอดภัยโดย UPVAC อีกด้วย

 ทั้งนี้ KCA สนใจต่อกระบวนการเรียกคืนสินค้าของไทย ซึ่งต่างจาก KCA ดำเนินการ อาจเป็นเพราะอำนาจหน้าที่และโครงสร้างของ OCPB ไม่มีศูนย์พิสูจน์ทดสอบสินค้าที่ไม่ปลอดภัยเป็นของตนเอง หรืออาจจะเป็นเพราะข้อจำกัดด้านงบประมาณด้วย แต่ OCPB ใช้อำนาจของคณะกรรมการว่าด้วยสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ดำเนินการใน 2 ลักษณะ คือ (1) สั่งให้ OCPB ส่งพิสูจน์ทดสอบแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมวิทยาศาสตร์บริการ หรือเซ็นทรัลแลป เป็นต้น และ (2) สั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจส่งพิสูจน์ทดสอบเอง ซึ่งหากคณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า สินค้าดังกล่าวไม่ปลอดภัยหรืออาจจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค จะมีคำสั่งห้ามขาย แก้ไข เรียกคืน หรือทำลาย ตามลำดับความรุนแรงนั้น


( กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ )