Website
1166
facebook
twitterx
youtube
Instagram
pantip
TikTok
line
connect








ความเป็นมาและเหตุผล

03 ม.ค. 2561

1. เดิมการบริหารราชการแผ่นดินไม่ได้เน้นการเปิดเผยและการมีส่วนร่วมของประชาชนแต่ในปัจจุบันภายใต้ระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการบริหารราชการของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชน การบริหารราชการแผ่นดินจึงต้องเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและความโปร่งใส

2. ในระหว่างปี พ.ศ.2534-2538 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ร่วมกับอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิ ได้พิจารณาจัดทำร่างกฎหมาย เพื่อให้หลักการบริหารราชการแผ่นดินโดยมีส่วนร่วมของประชาชน และความโปร่งใสเป็นรูปธรรมขึ้น ซึ่งในที่สุดก็ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติที่สำคัญต่อการบริหารราชการแผ่นดิน 2 ฉบับ คือ

      2.1  พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 โดยได้มีหลักการกว้าง ๆ ว่า ผู้ออกคำสั่งต้องให้โอกาสผู้มีส่วนได้เสียเข้ามาในกระบวน
การออกคำสั่งด้วย และต้องแจ้งสิทธิที่ผู้นั้นพึงมีด้วย

      2.2  พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540โดยมีหลักการให้ประชาชนมีโอกาสกว้างขวางในการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนิน
การต่าง ๆ ของรัฐ อันเป็นการส่งเสริมให้มีความเป็นรัฐบาลโดยประชาชนยิ่งขึ้น

3. ในช่วงเวลา 2 ปี ที่ผ่านมาในการจัดทำร่างกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้จัดให้มีการสัมมนาและรับฟัง ความคิดเห็นกับประชาชนในรูปแบบ
ต่าง ๆ ในการจัดทำร่างกฎหมาย บางฉบับตามความเหมาะสม

4. ขณะนี้ทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นว่าการรับฟังความคิดเห็นทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จะเป็นวิธีการที่สะดวก ประหยัด จึงได้เสนอต่อนายกรัฐมนตรี และได้รับอนุมัติในหลักการ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2545 ให้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จัดการเผยแพร่และรับความคิดเห็นร่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้

5. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยความช่วยของ US-AEP และมูลนิธิปริญญาโทนักบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ( มูลนิธิ EPA ) ได้พัฒนาซอฟแวร์ เพื่อใช้ในการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งถ้าเกิดประโยชน์ หน่วยงานอื่นของรัฐจะได้นำไปใช้ได้ต่อไป

( )