Website
1166
facebook
twitterx
youtube
Instagram
pantip
TikTok
line
connect



คำถามที่ถามบ่อย

1. กรณี ผู้ร้องค้างชำระค่างวดรถยนต์กี่งวด ไฟแนนซ์จึงจะสามารถทำการยึดรถได้
ผู้ร้องต้องค้างชำระครบ 3 งวด ไฟแนนซ์จะยกเลิกสัญญา และมีจดหมายแจ้งเตือนให้ทราบล่วงหน้าอีก 30 วัน จึงจะสามารถยึดรถได้ แต่ถ้าผู้ร้องเซ็นต์เอกสารยินยอมให้รถไป ทางไฟแนนซ์ก็สามารถยึดรถไปได้เลย
2. กรณีผู้ร้องจอง บ้าน , คอนโด แต่กู้ไม่ผ่าน ต้องการขอเงินจองและเงินดาวน์คืนได้หรือไม่ ?
กรณีกู้ไม่ผ่านทางผู้ประกอบการมีสิทธิ์ริบเงินจอง , เงินทำสัญญา แต่ส่วนอื่นๆ เช่น เงินดาวน์ , เงินค่าตกแต่ง ต้องคืนให้ผู้ซื้อ
3. กรณีที่ผู้ร้องวางเงินจองรถยนต์ ไม่ได้รับรถตามเวลาที่กำหนด ขอเงินคืนได้หรือไม่ ?
ถ้าเป็นความผิดของผู้ประกอบการที่ไม่สามารถส่งมอบได้ตามกำหนด ทางผู้ประกอบการต้องคืน เงินมัดจำ , เงินทำสัญญาให้ผู้ร้องทั้งหมด
4. กรณีก่อสร้างบ้านไม่เสร็จตามสัญญา ทางผู้ประกอบการเร่งรัดให้โอนกรรมสิทธิ์ จะดำเนินการอย่างไร ?
แนะนำให้ทางผู้ซื้อทำหนังสือแจ้งทางโครงการเพื่อขอระงับการโอนออกไปก่อน จนกว่าจะมีการดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ และมีการตรวรรับบ้านเรียบร้อยแล้ว
1. ก่อนการซื้อ "อาคารชุดพักอาศัย" "คอนโดมิเนียม"
ศึกษาสภาพแวดล้อม ผลงานผู้ประกอบธุรกิจ
1. ตรวจสอบโครงการทางราชการว่าจะ ดำเนินการใดในบริเวณที่ดินนั้นหรือไม่ เช่น มีข้อห้ามมิให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารสูงๆ หรือบริเวณดังกล่าวรัฐกำลังจะดำเนินการเวนคืนในอนาคต เป็นต้น โดยตรวจสอบได้ที่เทศบาล หรือสำนักงานโยธาจังหวัดที่โครงการจัดสรรตั้งอยู่
2. สถานที่ตั้งโครงการสะดวกต่อการเดินทางไปทำงาน ไม่มีมลพิษ เช่น ฝุ่นละอองหรือเสียงรบกวนต่างๆ หรือมีน้ำท่วมขัง ซึ่งอาจทำให้ท่านเดือดร้อนได้ในภายหลัง
3. ตรวจสอบผลงาน หากผู้ประกอบธุรกิจได้เคยดำเนินการมาแล้วก็ต้องพิจารณาดูว่า โครงการที่ดำเนินการมาแล้วนั้นมีสภาพเป็นอย่างไร ทำตามโครงการหรือสัญญาครบถ้วนหรือไม่ มีการส่งมอบงานหรือโอนบ้านตามกำหนดหรือไม่ ทั้งนี้อาจสอบถามได้จากผู้ซื้อรายก่อน
อย่าด่วนตัดสินใจซื้อ ตรวจสอบห้องชุดก่อน

ผู้บริโภคที่ประสงค์จะซื้อห้องชุดต้องพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบเช่นเดียวกัน อย่ารีบร้อนหรือด่วนตัดสินใจซื้อห้องชุดที่โฆษณาขายอยู่ในบ้านเรา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้

1. กรณีที่ยังไม่ได้มีการก่อสร้างอาคาร ผู้บริโภคควรตรวจสอบดังนี้
1.1 ตรวจสอบใบอนุญาตก่อสร้างอาคารว่าได้รับอนุญาตหรือยังไม่ได้รับอนุญาต ขอตรวจสอบได้จากผู้ประกอบธุรกิจอาคารชุด
1.2 ตรวจสอบชื่อผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน แผนผังแสดงเขตที่ดินที่จะก่อสร้างอาคารชุด เลขที่ของโฉนดที่ดินตรวจสอบได้จากกรมที่ดิน สำนักงานที่ดินจังหวัด แล้วแต่กรณี
1.3 ตรวจสอบชื่อ ที่อยู่ และสถานภาพของผู้ประกอบธุรกิจอาคารชุด ว่าเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลและเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่จะก่อสร้างอาคารชุดหรือไม่ ถ้ากรณีเป็นนิติบุคคล ได้จดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนกับทางราชการถูกต้องแล้วหรือไม่ มีทุนจดทะเบียน ทุนที่ชำระแล้วเท่าไร ใครเป็นกรรมการผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการหรือกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน ตรวจสอบได้จากกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด แล้วแต่กรณี
1.4 ตรวจสอบว่าที่ดินที่จะก่อสร้างอาคารชุดมีภาระผูกพันกับนิติบุคคล หรือสถาบันการเงินหรือไม่ อย่างไร คือนำไปจำนองไว้กับธนาคารหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์หรือไม่นั่นเอง ท่านตรวจสอบได้จากกรมที่ดิน หรือสำนักงานที่ดินจังหวัด แล้วแต่กรณี
1.5 ต้องสอบถามเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่นอกเหนือจากค่าซื้ออาคารชุดซึ่งผู้เป็นเจ้าของห้องชุดจะต้องร่วมกันออกตามส่วน เช่น ค่าบริการที่เป็นส่วนรวม ค่าดูแลรักษาและดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลาง ค่าภาษีอากร เป็นต้น สอบถามได้จากผู้ประกอบธุรกิจอาคารชุด กรมที่ดิน สำนักงานที่ดินจังหวัด แล้วแต่กรณี
1.6 ต้องสอบถามหรือขอคำรับรองจากผู้ประกอบธุรกิจอาคารชุดด้วยว่า จะเริ่มก่อสร้างและแล้วเสร็จเมื่อใด

2. กรณีที่ก่อสร้างอาคารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้บริโภคควรต้องตรวจสอบ ดังนี้
2.1 ตรวจสอบว่าได้มีการจดทะเบียนอาคารชุดแล้วหรือไม่ มีเลขที่ของทะเบียนอาคารชุดแล้วหรือไม่ เลขที่ของทะเบียนอาคารชุดเท่าไร ใครเป็นผู้ขอจดทะเบียนอาคารชุด ขอตรวจสอบได้จากผู้ประกอบธุรกิจอาคารชุด แต่ถ้าหากไม่แน่ใจว่าถูกต้องหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้จากกรมที่ดิน สำนักงานที่ดินจังหวัด แล้วแต่กรณี
2.2 ตรวจสอบเลขที่ของโฉนดที่ดิน จำนวนเนื้อที่ที่ดินของโครงการ แผนผังแสดงเขตที่ดิน และที่ตั้งอาคารชุด ว่าตรงกันกับที่ได้จดทะเบียนอาคารชุดแล้วหรือไม่ ตรวจสอบได้จากกรมที่ดิน สำนักงานที่ดินจังหวัด แล้วแต่กรณี
2.3 ตรวจสอบชื่อ ที่อยู่ และสถานภาพของผู้ขอจดทะเบียนอาคารชุด ว่าเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ถ้ากรณีเป็นนิติบุคคล ใครเป็นกรรมการผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการหรือกรรมการผู้มี อำนาจลงนามผูกพันบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน ตรวจสอบได้จากกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัด แล้วแต่กรณี
2.4 ตรวจสอบว่าที่ดินจะก่อสร้างอาคารชุดมีภาระผูกพันกับนิติบุคคล หรือสถาบันการเงิน หรือไม่อย่างไร คือนำไปจำนองไว้กับธนาคารหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์หรือไม่ ท่านตรวจสอบได้จากกรมที่ดิน หรือสำนักงานที่ดินจังหวัด แล้วแต่กรณี
2.5 ตรวจสอบรายการและขนาดของทรัพย์สินที่ใช้เป็นทรัพย์ส่วนบุคคลและทรัพย์ส่วนกลาง ว่าตรงกันกับที่ได้มีการโฆษณาไว้หรือไม่ ตรวจสอบได้จากที่ตั้งโครงการและผู้ประกอบธุรกิจอาคารชุด
2.6 สอบถามเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่นอกเหนือจากค่าซื้ออาคารชุด ซึ่งผู้เป็นเจ้าของห้องชุดจะต้องร่วมกันออกตามส่วน เช่น ค่าบริการที่เป็นส่วนรวม ค่าดูแลรักษาและดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนกลาง ค่าภาษีอากร เป็นต้น ขอทราบได้จากผู้ประกอบธุรกิจอาคารชุด กรมที่ดิน สำนักงานที่ดินจังหวัด อำเภอ หรือสำนักงานที่ดินเขตที่ที่ดินนั้นตั้งอยู่ แล้วแต่กรณี
สำหรับรายละเอียดดังกล่าวข้างต้น ทางราชการได้ออกกฎกระทรวงตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 บังคับให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องบอกกล่าวหรือระบุในคำโฆษณาแล้ว แต่ยังไม่ควรมั่นใจว่าจะถูกต้องหรือเป็นจริงและเพียงพอที่จะตัดสินใจซื้อ หรือเข้าทำสัญญากับผู้ประกอบธุรกิจ ควรที่จะได้ตรวจสอบกับทางราชการที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง เพื่อความรอบคอบและจะได้ไม่ถูกหลอกลวงหรือถูกเอารัดเอาเปรียบ

การตรวจสอบหนังสือสัญญา
เมื่อผู้บริโภคตกลงใจหรือตัดสินใจที่จะซื้อบ้าน ที่ดินจัดสรรหรืออาคารชุดแล้ว สิ่งที่จะต้องทำต่อไปคือทำสัญญากับผู้ขาย ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญที่สุด เพราะผู้ซื้อจะต้องลงชื่อผูกพันในหนังสือสัญญากับผู้ขาย การเอารัดเอาเปรียบของผู้ขาย หรือความเสียเปรียบของผู้ซื้ออาจเกิดขึ้นได้หรือไม่ อย่างไร จะอยู่ที่หนังสือสัญญาฉบับนี้ ดังนั้นก่อนที่ผู้บริโภคจะลงชื่อในหนังสือสัญญาจะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้ โดยไม่ต้องเกรงใจผู้ขาย ต้องตรวจสอบข้อความในหนังสือสัญญาให้ละเอียด และทำความเข้าใจให้แจ้งชัด ก่อนที่จะลงลายมือชื่อของตนในหนังสือสัญญาฉบับนั้น ถ้าอ่านแล้วยังไม่เข้าใจก็ต้องหาผู้รู้มาให้คำแนะนำ หรือถ้าสงสัยในเรื่องใดก็ต้องสอบถามผู้ขายให้เป็นที่ตกลงกันโดยแน่นอนเสียก่อน มิฉะนั้นอาจตกเป็นผู้เสียเปรียบในการทำสัญญาได้ เช่น
1. ห้องที่ทำสัญญาถูกต้องตรงตามตัวอย่างที่โฆษณาหรือไม่ จะต้องตรวจในรายละเอียดด้วย เพราะมีผู้ดำเนินการบางรายอาจทำแบบบ้านอย่างหนึ่ง แต่เวลาทำสัญญาได้มีการเปลี่ยนแปลงรายการในรายละเอียดบางประการซ่อนไว้ หากไม่ตรวจสอบจะไม่ทราบ
2. ขนาดของห้องที่ตกลงทำสัญญาซื้อนั้นถูกตรงตามที่ผู้ซื้อจองตามผังจัดสรรหรือไม่
3. ระยะเวลาการเริ่มต้นก่อสร้างและระยะเวลาการสร้างห้องแล้วเสร็จส่งมอบให้ผู้ซื้อได้เมื่อใด ควรต้องมีกำหนดไว้ในสัญญาด้วย
4. หากในสัญญากำหนดเบี้ยปรับไว้กรณีผู้ซื้อผิดนัด เช่นนี้ก็ควรกำหนดเบี้ยปรับไว้ในสัญญากรณีผู้ขายผิดนัดด้วย
5. ควรกำหนดเวลาประกัน กรณีห้องชำรุดบกพร่องไว้ด้วย ว่าจะให้ผู้ขายปฏิบัติอย่างไร
2. การยกเลิกการเป็นสมาชิกฟิตเนส ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้บริการออกกำลังกายเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2554 (มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2554)
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 386 บัญญัติว่า ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย การเลิกสัญญาเช่นนั้นย่อมทำด้วยแสดงเจตนาแก่อีกฝ่ายหนึ่ง

ถ้าสัญญา มิได้ระบุว่ามีสิทธิยกเลิกสัญญาแต่ประการใด อีกทั้งศาลฎีกาก็ได้พิพากษาเป็นบรรทัดฐานไว้ว่า คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาได้นั้น จะต้องเกิดจากสิทธิตามสัญญา หรือตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

เมื่อธุรกิจฟิตเนสได้ถูกคณะกรรมการฯ ควบคุมสัญญาแล้ว ดังนั้น กระบวนการพิจารณาตามกฎหมาย ต้องยึดตามประกาศฯ ก่อน porn เพราะแยกหลักเกณฑ์การพิจารณาออกจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปแล้ว ที่บัญญัติสิทธิบอกเลิกไว้ คือ

1. ผู้ประกอบธุรกิจไม่มีอุปกรณ์ออกกำลังกายตามที่ระบุไว้ในสัญญา หรือมีแต่ชำรุดบกพร่อง หรือมีแต่ไม่เพียงพอกับจำนวนสมาชิก
2. แพทย์มีหนังสือรับรองว่าผู้บริโภคออกกำลังกายแล้ว อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ
3. เทรนเนอร์ฝึกสอนแล้วผู้บริโภคได้รับบาดเจ็บ หรืออุปกรณ์ออกกำลังกายชำระโดยไม่มีคำเตือน

แต่หากไม่มีบทบัญญัติตามประกาศฯ พิจารณาตามประเด็นข้อพิพาทจึงจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาปรับใช้

ดังนั้นหากไม่มีข้อสัญญาให้ยกเลิกสัญญาได้ จึงควรเจรจาหาทางออกของปัญหาให้ทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์กัน น่าจะดีกว่า เช่น ปรับลดสัญญาลงมา หรือโอนสิทธิสมาชิกให้กับบุคคลอื่น ......

ติดต่อได้ที่กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา 02-1413463-4 , 02-1430401-3
ข้อแนะนำที่ 1 ก่อนการร้องเรียนมายัง สคบ
ให้ผู้ร้องติดต่อเจรจากับทางผู้ประกอบการก่อน เพื่อดูความรับผิดชอบในเบื้องต้น ถ้าได้รับคำตอบจากทางผู้ประกอบการแล้วแต่คิดว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมร้องเรียนมายัง สคบ.ได้ทันที
ข้อแนะนำที่ 2 ฉลากของสินค้าต้องระบุข้อความดังนี้
ชื่อสินค้า, ชื่อเครื่องหมายการค้า,สถานที่ตั้งของผู้ผลิต, ขนาด/น้ำหนัก, วิธีใช้, ข้อแนะนำการใช้หรือข้อห้าม, คำเตือน(ถ้ามี) ,วันเดือนปีที่ผลิต และ ราคา
ข้อแนะนำที่ 3 ฉลากรถยนต์ใช้แล้ว
ฉลากรถยนต์ใช้แล้ว จำหน่ายชุดละ 50 Copy เล่มละ 70 บาท สามารถสั่งซื้อหรือติดต่อได้ที่ คุณประยงค์ หมายเลข 02-1430377-8
ข้อแนะนำที่ 4 สคบ.มีการปรับปรุงเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์
สคบ.มีการปรับปรุงเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์มีจำนวนไม่เกินสิบเอ็ดตัวอักษรในหนึ่งนิ้ว และมีข้อกำหนดราคาเช่าซื้อ อัตราดอกเบี้ย การผ่อนชำระ ภาษีมูลค่าเพิ่ม การคิดคำนวณเงินค่าเช่าซื้อที่ต้องชำระ ราคาที่ขายได้ รวมทั้งผู้ให้เช่าซื้อมีความประสงค์จะนำเงินค่างวดของผู้เช่าซื้อมาหักชำระค่าเบี้ยปรับ ค่าใช้จ่ายในการทวงถาม ค่าติดตามรถยนต์ ค่าทนายความ หรือการให้ส่วนลดแก่ผู้เช่าซื้อ คำเตือนสำหรับผู้ค้ำประกัน
กรณีผู้บริโภคซื้อสินค้า ผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น Facebook Instagram ฯลฯ แต่ไม่ได้รับสินค้าหรือได้รับสินค้าไม่เป็นไปตามโฆษณา สามารถร้องเรียนสคบ. ได้หรือไม่
ผู้บริโภคสามารถร้องเรียนสคบ.ได้ ผ่านอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ www.ocpb.co.th และทางโทรศัพท์สายด่วน สคบ. โทร 1166
หากพบข้อความโฆษณาสินค้าหรือบริการที่ใช้ข้อความเกินจริง สามารถร้องเรียนสคบ. ได้หรือไม่
ผู้บริโภคสามารถร้องเรียนสคบ.ได้ ผ่านอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ www.ocpb.co.th และทางโทรศัพท์สายด่วน สคบ. โทร 1166
หากผู้บริโภคต้องการร้องเรียนจะต้องเตรียมเอกสารหลักฐานอะไรบ้าง
ผู้บริโภคต้องเตรียมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องร้องทุกข์

กรณีผู้ร้องไม่สามารถเข้าพบพนักงานเจ้าหน้าที่ได้สามารถมอบหมายให้บุคคลอื่นเข้าพบพนักงานเจ้าหน้าที่และชี้แจงข้อเท็จจริงแทน ได้หรือไม่ และต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
ผู้ร้องสามารถมอบหมายให้บุคคลอื่นเข้าพบพนักงานเจ้าหน้าที่ และชี้แจงข้อเท็จจริงแทนได้ โดยผู้ร้องจะต้องเตรียมหนังสือมอบอำนาจ พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
Complaint Channel
Submit a complaint by yourself:OCPB Complaint
Center 1st Floor (South Zone) Government Complex, Chaengwattana Road, Bangkok Online complaint system at www.ocpb.go.th
By post mail: or fill in the complaint form at (link แบบฟอร์มคำร้องฉบับภาษาอังกฤษ ในหน้าเว็บไซต์)
Other provinces: Complaints can be filed at the Provincial Hall, Damrongdhama Center
or by consulting the OCPB via the hotline 1166

Complaint Handling Procedure
1.Receiving Complaint
2.Mediation (Officer Level) subcommittee level
3.Mediation (Subcommittee Level)
4.Subcommittee screening on complaint review
5.Consumer Protection Board (CPB) Consideration

Consumer rights
The consumer has the following rights of protection:
1. the right to receive correct and sufficient information and description as to the quality of goods or services;
2. the right to enjoy freedom in the choice of goods or services;
3. the right to expect safety in the use of goods or services;
4. the right to receive a fair contract;
5. the right to have an injury consiered and compensated.
In accordance with the laws on such matters or the provisions of this Act.

ขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลาก หรือมีฉลากแต่แสดงฉลาก ไม่ถูกต้อง มีความผิดอย่างไร
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ใครมีหน้าที่จัดทำฉลากสินค้า
ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นผู้ผลิตสินค้าโดยโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานหรือเป็นผู้สั่งหรือนำเข้ามาสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย เป็นผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายในการจัดทำฉลากของสินค้าให้ถูกต้องก่อนขาย ตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

ผู้ผลิต ผู้สั่ง หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ไม่จัดทำฉลากสินค้า มีความผิดอย่างไร
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม

การยื่นคำขอความเห็นเกี่ยวกับฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก มีค่าใช้จ่ายหรือไม่
ผู้ประกอบธุรกิจผู้ใดสงสัยว่าฉลากของตนจะเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่เป็นไปตามมาตรา ๓๑ ผู้ประกอบธุรกิจผู้นั้นอาจขอให้คณะกรรมการว่าด้วยฉลากพิจารณาให้ความเห็นในฉลากนั้นก่อนได้ ในกรณีนี้ให้นำมาตรา ๒๙ มาใช้บังคับโดยอนุโลม และต้องชำระค่าป่วยการในการให้ความเห็นให้เป็นไปตามระเบียบ เป็นเงินจำนวน ๑๐,๐๐๐ บาท ต่อชนิดของสินค้าที่ยื่นคำขอ ตามมาตรา มาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
หากได้รับความเดือดร้อนไม่เป็นธรรมจากผู้ประกอบธุรกิจในพื้นที่ต่างจังหวัดสามารถร้องทุกข์ได้อย่างไร
ท่านสามารถร้องทุกข์ได้ดังนี้
1. ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดทุกจังหวัด
2. เทศบาลทุกแห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่ง
3. เมืองพัทยา
การจดทะเบียนประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง สามารถจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ประจำจังหวัดได้หรือไม่
ไม่สามารถจดทะเบียนต่อ สคบ. ประจำจังหวัด ทั้งนี้การยื่นขอจดทะเบียนดังกล่าว สามารถยืนได้ด้วยตนเอง ณ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองบริโภค ทางไปรษณีย์ หรือผ่านเว็บไซต์ https://ocpbdirect.ocpb.go.th/
ขั้นตอนการเจรจาไกล่เกลี่ยในส่วนภูมิภาคเป็นอย่างไรบ้าง
เมื่อเจ้าหน้าที่ประจำจังหวัด ได้รับเรื่องร้องทุกข์และตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น จะมีหนังสือเชิญคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเพื่อเจรา
ไกล่เกลี่ยเพื่อหาข้อแนวทางการในการยุติข้อพิพาท
หากเจรจาไกล่เกลี่ยในชั้นเจ้าหน้าที่ไม่สามารถตกลงกันได้ จะมีขั้นตอนอย่างไรต่อไป
หากการเจรจาไกล่เกลี่ยชั้นเจ้าหน้าที่ คู่กรณีทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ หากทั้งสองฝ่ายมีความประสงค์ที่จะเจราจาไกล่เกลี่ยกันต่อไป เจ้าหน้าที่ผู้มีรับผิดชอบจะนำเรื่องเข้าสู่คณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยเรื่องร้องจากผู้บริโภคประจำจังหวัด เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
เครมประกันไม่ได้ หรือบริษัทไม่จ่ายค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์
กรณีดังกล่าวอยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ) ท่านสามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาหรือร้องทุกข์ที่หน่วยงานดังกล่าวได้โดยตรง
ได้ที่ สายด่วนประกันภัย 1186
(ใส่ลิ้งค์ช่องทางร้องทุกข์ออนไลน์ของหน่วยงานดังกล่าว)
นำรถเข้าซ่อมอู่ในเครือประกัน แต่ซ่อมไม่ได้มาตรฐาน ล่าช้า หรือเรียกเก็บเงินเพิ่ม
กรณีดังกล่าวอยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ) ท่านสามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาหรือร้องทุกข์ที่หน่วยงานดังกล่าวได้โดยตรง
ได้ที่ สายด่วนประกันภัย 1186
(ใส่ลิ้งค์ช่องทางร้องทุกข์ออนไลน์ของหน่วยงานดังกล่าว)
สัญญาณโทรศัพท์มือถือ หรืออินเทอร์เน็ตไม่มีคุณภาพ ไม่สามารถใช้งานได้
กรณีดังกล่าวอยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) ท่านสามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาหรือร้องทุกข์ที่หน่วยงานดังกล่าวได้โดยตรง ได้ที่ สายด่วน 1200
(ใส่ลิ้งค์ช่องทางร้องทุกข์ออนไลน์ของหน่วยงานดังกล่าว)
ถูกเรียกเก็บเงินค่า SMS ที่ไม่เคยสมัครใช้บริการ
กรณีดังกล่าวอยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) ท่านสามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาหรือร้องทุกข์ที่หน่วยงานดังกล่าวได้โดยตรง ได้ที่ สายด่วน 1200
(ใส่ลิ้งค์ช่องทางร้องทุกข์ออนไลน์ของหน่วยงานดังกล่าว)

สั่งซื้อสินค้าทางเฟซบุ๊ก แต่ได้รับสินค้า
ไม่ตรงปก ทางร้านไม่ยอมคืนเงิน สามารถทำอย่างไรได้บ้างคะ
ท่านสามารถร้องทุกข์ต่อ สคบ. ได้เลยค่ะ โดยเตรียมเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วน เขียนรายละเอียดเรื่องร้องทุกข์ให้ชัดเจนว่า ได้ซื้อสินค้าอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร พร้อมแนบเอกสารหลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน หลักฐานการชำระเงิน และเอกสารที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ มาด้วยนะคะ
ซื้อคอร์สเสริมความงาม แต่ไม่สามารถใช้บริการได้ค่ะ พนักงานแจ้งว่าให้รอดำเนินการอีก ๔๕ วันเพื่อทำเรื่องคืนเงินให้ แต่ตอนนี้เลยกำหนดเวลาแล้วยังไม่ได้รับเงินคืนค่ะ
กรณีดังกล่าว ท่านสามารถยื่นเรื่องร้องทุกข์เข้ามาที่ สคบ. ได้เลยค่ะ หากท่านไม่ได้รับความธรรมในการใช้บริการ
ทาง สคบ. ยินดีช่วยเหลือผู้บริโภคค่ะ
ต้องการร้องเรียนบริษัทประกันภัยที่ไม่เป็นไปตามข้อตกลงค่ะ
ท่านสามารถปรึกษา หรือร้องเรียนได้ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลเกี่ยวกับเรื่องประกันภัย สามารถโทรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน ๑๑๘๖ ค่ะ

ซื้อของทางเพจหนึ่ง โอนเงินเรียบร้อย
แต่โดนทางร้านบล็อกติดต่อไม่ได้ ต้องทำอย่างไรคะ
กรณีหากพบว่าผู้ขายบ่ายเบี่ยงไม่ส่งสินค้า ไม่ยอมเงินคืน และไม่สามารถติดต่อผู้ขายได้ การกระทำดังกล่าวอาจ
เข้าข่ายฉ้อโกง ท่านต้องไปแจ้งความกับพนักงานสอบสวน ในพื้นที่เกิดเหตุ ภายในระยะเวลา ๓ เดือน นับแต่วันที่
รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิดค่ะ
สินค้าประเภทใดบ้างเป็นสินค้าที่ห้ามขายหรืองดให้บริการตามคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และคำสั่งคณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าและบริการ
คณะกรรมการคุ้มครองผู้และบริโภค และคณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าและบริการ ได้ออกคำสั่งห้ามขาย/งดให้บริการ มีจำนวน 15 สินค้า ที่มีผลบังคับใช้ สามารถตรวจสอบได้ที่ คลิกhttps://www.ocpb.go.th/more_news.php?cid=12
นิยามคำว่า สินค้าที่เป็นอันตราย และบริการที่เป็นอันตราย
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562 ให้คำนิยาม
-สินค้าที่เป็นอันตราย หมายความว่า สินค้าที่ก่อหรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ อนามัย จิตใจ หรือทรัพย์สิน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงสินค้าที่มีกฎหมายอื่นบัญญัติเรื่องนั้นไว้โดยเฉพาะแล้ว
-บริการที่เป็นอันตราย หมายความว่า บริการที่ก่อหรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ อนามัย จิตใจ หรือทรัพย์สิน ทั้งนี้
ไม่รวมถึงบริการที่มีกฎหมายอื่นบัญญัติเรื่องนั้นไว้โดยเฉพาะแล้ว
หากบุคคลใดฝ่าฝืนคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือคณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าและบริการ โดยขายหรือผลิต สั่ง หรือนำเข้าสินค้าที่ห้ามขายหรืองดให้บริการจะมีความผิดตามกฎหมายใด
ผู้ใดกระทำความผิด ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว จะต้องระวางโทษตามมาตรา 56/4 และ 56/6 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2562 สามารถตรวจสอบได้ที่ https://www.ocpb.go.th/download/article/article_20190529095328.pdf
หากผู้ประกอบธุรกิจรายใดมีความประสงค์จะขายหรือผลิต สั่งหรือนำเข้าสินค้า UVC จะต้องดำเนินการอย่างไร
คณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าและบริการ ได้มีคำสั่ง ที่ 5/2563 เรื่อง ห้ามขายสินค้าหรืออุปกรณ์ที่มีรังสี UVC เป็นการชั่วคราว หากผู้ใดประสงค์จะขาย ผลิต สั่ง หรือนำเข้าเพื่อขายสินค้า UVC จะต้องติดต่อมายังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโดยเร็วเพื่อทำการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้าก่อน หากผลการทดสอบหรือพิสูจน์ปรากฏว่าผ่านเกณฑ์การทดสอบขีดจำกัดอันตรายเนื่องจากการแผ่รังสีที่เกิดจากตาและผิวหนัง และผ่านเกณฑ์การทดสอบด้านประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อ คณะกรรมการว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าและบริการจะมีมติให้ออกคำสั่งคณะกรรมการที่ 5/2563 ลงวันที่ 11 มกราคม 2564 เรื่อง ห้ามขายสินค้าหรืออุปกรณ์ที่มีรังสี UVC เป็นการชั่วคราว และคำสั่งที่ 62/2563 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2564 เรื่อง ห้ามขายสินค้าหรืออุปกรณ์ที่มีรังสี UVC เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 2) เป็นการเฉพาะราย โดยจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป ทั้งนี้ ผู้ประกอบธุรกิจสามารถยื่นความประสงค์ขอทดสอบหรือพิสูจน์สินค้า ได้ที่ ฝ่ายเฝ้าระวังและพิสูจน์สินค้าและบริการ
กองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก เบอร์โทรศัพท์ 02-1430387

การประกอบธุรกิจด้วยวิธีการทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการนำเสนอขายต่อผู้บริโภคโดยตรง ณ ที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ทำงานของผู้บริโภคหรือของผู้อื่น หรือสถานที่อื่นที่มิใช่สถานที่ประกอบการค้าเป็นปกติธุระ โดยผ่านตัวแทนขายตรงหรือผู้จำหน่ายอิสระชั้นเดียวหรือหลายชั้น (การทำตลาดโดยใช้คนนำเสนอขาย) บุคคลใดบ้างที่จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจ
ขายตรงตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาด
แบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕
ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๒๐ บุคคลที่จะต้องยื่นคำขอ จดทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรง ต้องเป็น ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด
การประกอบธุรกิจด้วยวิธีการทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการสื่อสารข้อมูลเพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการโดยตรงต่อผู้บริโภคซึ่งอยู่ห่าง โดยระยะทางและมุ่งหวังให้ผู้บริโภคแต่ละราย ตอบกลับเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงนั้น (การทำตลาดโดยใช้สื่อในการนำเสนอขาย) บุคคลใดบ้างที่จะต้องยื่นคำขอ จดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕
ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๒๗ บุคคลที่จะต้องยื่นคำขอ จดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง คือ บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงได้
การซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใดบ้าง ที่ไม่ถือว่าเป็นตลาดแบบตรง
ตามกฎกระทรวงกำหนดการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ถือว่าเป็น ตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๖๑ การขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังต่อไปนี้ ไม่ถือว่าเป็นตลาดแบบตรง
(๑) การขายสินค้าหรือบริการของบุคคลธรรมดา ซึ่งมิได้
จดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง และมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไม่เกินหนึ่งล้านแปดแสนบาทต่อปี
คำตอบ A
(๒) การขายสินค้าหรือบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
(๓) การขายสินค้าหรือบริการของวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนที่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน
(๔) การขายสินค้าหรือบริการของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์

การประกอบธุรกิจขายตรง ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕ มีลักษณะอย่างไร
“ขายตรง” หมายความว่า การทำตลาดสินค้าหรือบริการในลักษณะของการนำเสนอขายต่อผู้บริโภคโดยตรง ณ ที่อยู่อาศัยหรือสถานที่ทำงานของผู้บริโภคหรือของผู้อื่น หรือสถานที่อื่นที่มิใช่สถานที่ประกอบการค้าเป็นปกติธุระ โดยผ่านตัวแทนขายตรงหรือ ผู้จำหน่ายอิสระชั้นเดียวหรือหลายชั้นแต่ไม่รวมถึง นิติกรรมตามที่กำหนดในกฎกระทรวง