Website
1166
facebook
twitterx
youtube
Instagram
pantip
TikTok
line
connect








๖. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

01 ก.ย. 2565

๖. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

๖.๑ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

(๑) อำนาจหน้าที่ : เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผนส่งเสริมพัฒนาและดำเนินกิจการเกี่ยวกับดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นศูนย์กลางประสานงานและสนับสนุนการปฏิบัติงานตามนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งนโยบายและแผนเฉพาะด้านสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูลติดตามความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ด้านการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและแนวโน้มการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งวิเคราะห์และวิจัยประเด็นทางเศรษฐกิจดิจิทัลที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการหรือคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง ร่วมมือและประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารและพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ยังหน้าที่การระงับการทำให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐

(๒) กฎหมายที่อยู่ภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐

(๓) ข้อมูลการติดต่อ : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ๑๒๐ หมู่ ๓ ชั้น ๖ – ๙อาคารรัฐประศาสนภักดี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ถนนแจ้งวัฒนะแขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๑๐

โทรศัพท์ : ๐ ๒๑๔๑ ๖๗๔๗

อีเมล : pr@mdes.go.th

เว็บไซต์ : www.mdes.go.th



******************************



๖.๒ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

(๑) อำนาจหน้าที่ : เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลและสนับสนุนการบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมออนไลน์โดยยึดหลักตามกฎหมาย รวมถึงวิเคราะห์ รับรองความสอดคล้องและถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ รวมทั้ง ร่วมมือกับองค์กรหรือหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง

(๒) กฎหมายที่อยู่ภายใต้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔

(๓) ข้อมูลการติดต่อ : สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ อาคารเดอะไนน์ ทาวเวอร์ แกรนด์ พระรามเก้า (อาคารบี) ชั้น ๒๐ - ๒๒ เลขที่ ๓๓/๔ ถนนพระราม ๙ แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๑๐

โทรศัพท์ : ๐ ๒๑๒๓ ๑๒๓๔

ร้องทุกข์ทางอิเล็กทรอนิกส์ : www.etda.or.th/

อีเมล : info@etda.or.th

เว็บไซต์ : www.etda.or.th



******************************



๖.๓ ธนาคารแห่งประเทศไทย

(๑) อำนาจหน้าที่ : มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลบริการระบบการชำระเงินภายใต้การกำกับดูแลและบริการชำระเงินของผู้ประกอบธุรกิจ ดำเนินนโยบายการเงินตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินกำหนด ได้แก่ รับเงินฝาก กำหนดอัตราดอกเบี้ยในการให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงิน ซื้อขายเงินตราต่างประเทศและแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดในอนาคต กู้ยืมเงินตราต่างประเทศเพื่อดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพแห่งค่าของเงินตรากู้ยืมเงินเพื่อการดำเนินนโยบายการเงิน ซื้อขายหลักทรัพย์เท่าที่จำเป็นและแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดในอนาคตเพื่อควบคุมปริมาณเงินในระบบการเงินของประเทศ รวมถึงยืมหรือให้ยืมหลักทรัพย์ตามที่กำหนดโดยมีหรือไม่มีค่าตอบแทน

(๒) กฎหมายที่อยู่ภายใต้ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่

(๒.๑) พระราชบัญญัติระบบการชำระเงิน พ.ศ. ๒๕๖๐

(๒.๒) พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔

(๒.๓) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๕๑

(๓) ข้อมูลการติดต่อ : ธนาคารแห่งประเทศไทย ๒๗๓ ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐

สายด่วน : ๑๒๑๓

โทรศัพท์ : ๐ ๒๒๘๓ ๕๓๕๓

อีเมล : contact@bot.or.th

เว็บไซต์ : www.bot.or.th



******************************



๖.๔ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

(๑) อำนาจหน้าที่ : เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลการรับจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อประโยชน์ในการรวบรวมสถิติและทราบหลักฐานของผู้ประกอบพาณิชยกิจ โดยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ มีการบริหารจัดการที่เป็นระบบและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล รวมทั้งส่งเสริมบทบาทสถาบันการค้าเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับชุมชนถึงระบบประเทศ โดยมีอำนาจดังต่อไปนี้

(๑.๑) พัฒนาผู้ประกอบการและสถาบันการค้า

(๑.๒) ส่งเสริมธุรกิจการค้าส่งและค้าปลีก ธุรกิจบริการ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

(๑.๓) ดำเนินการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัท กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด กฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยการกำหนดหุ้นส่วนจดทะเบียน

ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัท จำกัด สมาคม และมูลนิธิ กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กฎหมายว่าด้วยการบัญชี กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี กฎหมายว่าด้วยสมาคมการค้า กฎหมายว่าด้วยหอการค้า และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

(๑.๔) ให้บริการข้อมูล เอกสารทะเบียนธุรกิจ และข้อมูลธุรกิจ และรับรองรายการทางทะเบียนธุรกิจ

(๑.๕) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

(๒) กฎหมายที่อยู่ภายใต้กระทรวงพาณิชย์ ได้แก่

(๒.๑) พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. ๒๔๙๙

(๒.๒) ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๓

(๒.๓) ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ ๙๓ (พ.ศ. ๒๕๒๐) เรื่อง กำหนดพาณิชยกิจที่ไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. ๒๔๙๙

(๒.๔) ข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรองผู้ประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ "DBD Registered” ของ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า พ.ศ. ๒๕๖๐

(๒.๕) ข้อบังคับ ว่าด้วยการใช้เครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระดับดี "DBD Verified Silver” ของ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

(๓) ข้อมูลการติดต่อ : กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ๕๖๓ ถนนนนทบุรี ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐

โทรศัพท์ : ๐ ๒๕๒๘ ๗๖๐๐

สายด่วน : ๑๕๗๐

อีเมล : secretary@dbd.go.th

เว็บไซต์ : www.dbd.go.th



******************************



๖.๕ กรมการค้าภายใน

(๑) อำนาจหน้าที่ : เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดระเบียบและส่งเสริมระบบการค้าสินค้าเพื่อรักษาระดับราคาสินค้า ส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นธรรมและป้องกันการผูกขาดตัดตอนทางการค้าจัดระบบราคาและปริมาณสินค้าให้เกิดความเป็นธรรม โดยมีคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการซึ่งเป็นหน่วยงานหลักมีหน้าที่ในการกำหนดมาตรการที่ใช้สำหรับสินค้าหรือบริการ มีอำนาจสั่งให้ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายสินค้าควบคุมแจ้งข้อเท็จจริงเพื่อไม่ให้มีการกำหนดราคาสูงหรือต่ำจนเกินไป รวมทั้งติดตามความเคลื่อนไหวตลอดจนรับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับความเดือดร้อนเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำอันมีผลกระทบกระเทือนต่อราคาเพื่อจัดระบบราคาและปริมาณสินค้าให้เกิดความเป็นธรรม

(๒) กฎหมายที่อยู่ภายใต้กรมการค้าภายใน ได้แก่

(๒.๑) พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. ๒๕๔๒

(๒.๒) ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ ๗๐ พ.ศ. ๒๕๖๓ เรื่อง การแสดงราคาสินค้าและรายละเอียดเกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าและบริการผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือออนไลน์

(๓) ข้อมูลการติดต่อ : กรมการค้าภายใน ๕๖๓ ถนนนนทบุรี ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี

จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐

โทรศัพท์ : ๐ ๒๕๐๗ ๕๕๓๐

สายด่วน : ๑๕๖๙

อีเมล์ : saraban@dit.go.th

เว็บไซต์ : www.dit.go.th



******************************



๖.๖ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

(๑) อำนาจหน้าที่ : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลควบคุมและกำกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจซึ่งปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดทางอาญา รักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยของประชาชน และความมั่นคงของราชอาณาจักรปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของข้าราชการตำรวจหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) เป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายที่มุ่งเน้นการอำนวยความยุติธรรม ป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีและบริการประชาชน อย่างมีมาตรฐานสากล เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย มั่นคง แก่ประชาชน สังคมและประเทศชาติ มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี สืบสวนสอบสวน ปฏิบัติงานตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา และตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์

(๒) กฎหมายที่อยู่ภายใต้สำนักงานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้แก่

(๒.๑) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

(๒.๒) ประมวลกฎหมายอาญา

(๒.๓) พระราชบัญญัติว่าด้วยการกรทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐

(๓) ข้อมูลการติดต่อ : ได้แก่

(๓.๑) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถนนพระรามที่ ๑ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวันกรุงเทพมหานคร ๑๐๓๓๐

สายด่วน : ๑๕๙๙

อีเมล : webmaster@royalthaipolice.go.th

เว็บไซต์ : www.royalthaipolice.go.th

(๓.๒) กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี อาคารกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เลขที่ ๑๑๐๖ ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ๑๐๙๐๐

โทร : ๐ ๒๑๔๒ ๒๕๕๖ , ๐ ๒๑๔๓ ๘๐๗๘ , ๐ ๒๑๔๓ ๘๐๗๙ , ๐ ๒๑๔๓ ๘๐๘๐

เว็บไซต์ : www.tcsd.go.th



******************************



๖.๗ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

(๑) อำนาจหน้าที่ : สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค โดยการรับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจ ติดตามและสอดส่องพฤติการณ์ของผู้ประกอบธุรกิจ และประสานงานกับส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุม ส่งเสริม หรือกำหนดมาตรฐานของสินค้าหรือบริการ

(๒) กฎหมายที่อยู่ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่

(๒.๑) พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕

(๒.๒) พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒

(๒.๓) พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑

(๒.๔) พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๕๑

(๒.๕) กฎกระทรวง การวางหลักประกันการประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๖๑

(๒.๖) กฎกระทรวง กำหนดการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ถือว่าเป็นตลาดแบบขายตรง พ.ศ. ๒๕๖๑

(๒.๗) ประกาศคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง เรื่อง หลักประกัน ตามพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๔๕

(๒.๘) ประกาศคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงและการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง พ.ศ. ๒๕๕๐

(๒.๙) ประกาศคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำขอจดทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงและการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖

(๓) ข้อมูลการติดต่อ : อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น ๕ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา

๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๑๐ เข้าดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคและส่วนภูมิภาคที่ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด

สายด่วน : ๑๑๖๖

ร้องทุกข์ออนไลน์ : complaint.ocpb.go.th

อีเมล : consumer@ocpb.mail.go.th

เว็บไซต์ : www.ocpb.go.th



******************************




( ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ )