Website
1166
facebook
twitterx
youtube
Instagram
pantip
TikTok
line
connect








สคบ. ลงพื้นที่ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจ ผลิตและจำหน่ายสินค้าประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูป เสื้อสูท สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค

08 มี.ค. 2567


วันที่ 8 มีนาคม 2567 เวลา 10.00 น. ดร. พวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค  มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค นำโดยรองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (พันตำรวจเอกประทีป  เจริญกัลป์) เจ้าหน้าที่ สคบ. พร้อมด้วย กรมการค้าภายใน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค กรุงเทพมหานคร สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ลงพื้นที่ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป เสื้อสูท
ทั่วกรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคในการเลือกซื้อเลือกใช้บริการ
เสื้อผ้าสำเร็จรูป เสื้อสูท และป้องกันการเอารัดเอาเปรียบ

พันตำรวจเอกประทีปฯ กล่าวว่า สินค้าประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูป เสื้อสูท ที่มีการจำหน่ายอยู่ในประเทศไทย มีผู้บริโภคทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ถูกหลอกลวง หรือถูกเอารัดเอาเปรียบ ในลักษณะได้รับเสื้อสูทที่มีคุณภาพต่ำแต่ราคาสูง เนื้อผ้าไม่เป็นไปตามที่ตกลงไว้ ไม่ได้รับเสื้อสูทตามกำหนดนัด และบางราย
ไม่มีการจัดทำฉลากสินค้า หรือมีการจัดทำฉลากสินค้า แต่มีรายละเอียดบนฉลากไม่ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายกำหนด จากการตรวจสอบ 6 ร้านค้า ได้แก่ 1) ห้างหุ้นส่วนจำกัด แมกซ์ แฟชั่น 2) ร้าน สุกัญญา แฟชั่น 3) ห้างหุ้นส่วนจำกัด จีเอ็ม แกลลอรี่ มอลล์ 4) บริษัท พรีเมี่ยม บอสแมน จำกัด 5) ห้างหุ้นส่วนจำกัด ราม แฟชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล และ 6) ห้างหุ้นส่วนจำกัด บีทีอาร์ คอลเลคชั่น พบว่าผู้ประกอบการทั้ง 6 ร้าน ไม่มีการจัดทำฉลากสินค้า แต่ทุกร้านให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นอย่างดี จึงได้ให้คำแนะนำการจัดทำฉลากที่ถูกต้อง

พันตำรวจเอกประทีปฯ กล่าวต่อว่า สคบ. พบการร้องเรียนเกี่ยวกับสินค้าประเภทเสื้อผ้าสำเร็จรูป เสื้อสูท ระหว่างปี พ.ศ. 25522566 จำนวน 13 รายการ และได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้บริโภคเรียบร้อยแล้ว จึงขอแนะนำให้ผู้บริโภคตรวจสอบฉลากสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพเหมาะสมกับราคา สำหรับผู้ประกอบธุรกิจต้องปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ ๓
(พ.ศ. ๒๕๖๕) และประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง กำหนดประเภทของสินค้าให้เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. ๒๕๖๕ กรณีที่ไม่ปฏิบัติตาม มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือ
ทั้งจำทั้งปรับ ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 200
,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ทั้งนี้ หากผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อสินค้าประเภทดังกล่าว สามารถร้องเรียนผ่านช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางแอปพลิเคชัน OCPB Connect
ได้ตลอด
24 ชั่วโมง ทางเว็บไซต์
www.ocpb.go.th โดยผู้บริโภคสามารถร้องเรียนออนไลน์ ได้สะดวก ประหยัดเวลา หรือขอรับคำปรึกษาได้ที่สายด่วน 1166  หรือ Chat bot พี่ปกป้อง

( กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ )