Website
1166
facebook
twitterx
youtube
Instagram
pantip
TikTok
line
connect








นายจิรชัย มูลทองโร่ย รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและคณะ ในฐานะผู้แทนประเทศไทยเดินทางไปราชการเพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการอาเซียนด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ครั้งที่ ๔

13 ต.ค. 2554     439 views


"สคบ. กับ อาเซียน”
 

     นายจิรชัย มูลทองโร่ย รองเลขาธิการ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและคณะในฐานะผู้แทนประเทศไทยเดินทางไปราชการ เพื่อเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการอาเซียนด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ครั้งที่ ๔ (The 4th Meeting of the ASEAN Committee on ConsumerProtection:ACCP)ระหว่างวันที่ ๔-๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ ณ กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไนดารุสซาลาม

     ประธานเปิดงาน คือ Mr.Yang Mulia Muhammad Lutfi binAbdullah ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีของประเทศบรูไนและมี MadameMahaniTan Abdullah  รองเลขาธิการด้านกิจการผู้บริโภคและการจัดการกระทรวงการค้าภายในสหกรณและกิจการผู้บริโภคของประเทศมาเลเซีย เป็นประธานการประชุม และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าร่วมการประชุมจํานวน ๙ ประเทศ ได้แก กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินสลาว พม่า เวียดนาม บรูไน และไทย โดยมีสาระการประชุมประกอบด้วย
๑. ติดตามผลการประชุมระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจและระดับเจ้าหน้าที่เศรษฐกิจอาวุโสของอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเศรษฐกิจและการคุ้มครองผูบริโภค โดยเฉพาะกรณีที่มีข้อเสนอให้คณะกรรมการที่ปรึกษาด้านมาตรฐานและคุณภาพของอาเซียน (ACCSQ) และคณะกรรมการด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของอาเซียน (ACCP) ประสานงานกันในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความปลอดภัยและคุณภาพสินค้าในระดับภูมิภาค
๒. รับทราบเอกสารเกี่ยวกับแผนงานติดตามประเมินผลการดําเนินงานไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (AEC Scorecard) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งแผนในภาพรวมและแผนที่ดําเนินแล้วในปี ๒๕๕๓-๕๔ และได้หารือ/ ปรับปรุง มาตรการในแผนดังกล่าวโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรการในการพัฒนากลไกการแจ้งและแลกเปลี่ยนข้อมูลสินค้าไม่ปลอดภัย และการจัดทําเว็ปไซด์การเยียวยาผู้บริโภค
 
๓. พิจารณาแผนการดําเนินงานของ ACCP สําหรับป๒๕๕๕-๒๕๕๘
 
๔. เห็นชอบแนวทางการแจ้งเตือนเกี่ยวกับสินค้าไม่ปลอดภัย (ถูกเรียกคืน/ห้ามขาย) ทั้งนี้ ไม่รวมถึง สินค้าประเภทอาหาร ยา ผลิตภัณฑเสริมสุขภาพ ยาแผนโบราณ เครื่องสําอางและอุปกรณ์การแพทยซึ่งมีคณะกรรมการอื่นของอาเซียนดูแลอยู่แล้ว
 
๕. เห็นชอบจัดทําเว็บไซดการเยียวยาผู้บริโภคของอาเซียน (ACCP Website) โดยใช้ชื่อว่า www.aseanconsumer.org เพื่อรองรับกิจกรรมการดําเนินงานด้านการรับเรื่องร้องเรียนและเยียวยาผู้บริโภคของประเทศสมาชิกผ่านช่องทางออนไลน
 
๖. เห็นชอบกับข้อเสนอโครงการภายใต้แผนงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลีย ระยะที่ ๒ โดยมุ่งพัฒนารูปแบบกลไกการรับเรื่องร้องเรียนและการเยียวยาผู้บริโภคในอาเซียน และเสริมสร้างสมรรถนะการดําเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของอาเซียน
 
๗. ร่วมกันแลกเปลี่ยนข้อมูลความคืบหน้าการพัฒนากลไกการรับเรื่องร้องเรียนและการเยียวยาผู้บริโภคของแต่ละประเทศ
 
๘. หารือ/แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับสํานักงานคุ้มครองผู้บริโภคของสาธารณรัฐเกาหลี เกี่ยวกับความร่วมมือกันในอนาคต เช่น ในเรื่องข้อมูล/การดําเนินงานด้านต่างๆ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการรับเรื่องร้องเรียน การจัดทําเว็บไซด์เกี่ยวกับระบบการแจ้งเตือน เป็นต้น
 
๙. เห็นชอบการจัดทําแผ่นพับเรื่องการรับเรื่องร้องเรียนผู้บริโภคของอาเซียน โดยจะดําเนินการผลิตแผ่นพับจํานวน ๒๐๐,๐๐๐ ฉบับ และแผ่นซีดีแจกจ่ายไปยังประเทศสมาชิก เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลต่างๆ ในการเข้าถึงหน่วยงานหลักของประเทศสมาชิกที่จะทําหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน/ เยียวยาผู้บริโภค เช่น ชื่อหน่วยงาน ที่อยู่เบอร์โทรศัพทสายด่วนเว็บไซตเป็นต้น สําหรับประเทศไทย สคบ. เป็นหน่วยงานกลางในการรับเรื่องร้องเรียนและประสานงาน โดยมีแผนจะแจกจ่ายแผ่นพับดังกล่าว ณ จุดผ่านแดนของแต่ละประเทศ รวมถึงสถานที่อื่นๆ เช่น โรงแรม ห้างสรรพสินค้า แต่ละประเทศจะได้รับจํานวน ๑๐,๐๐๐ แผ่น คาดว่าจะสามารถดําเนินการเผยแพร่ไดสิ้นป ๒๕๕๔
 
๑๐. เห็นชอบกําหนดวันและสถานที่สําหรับการประชุม ACCP ครั้งต่อไป (ครั้งที่ ๕) ระหว่างวันที่ ๒-๔ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ณ ประเทศอินโดนีเซียประชุมครั้งที่ ๖ ระหว่างวันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๕๕ ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย และประชุมครั้งที่ ๗ ในป ๒๕๕๖ ณ ประเทศเวียดนาม
 
ข้อสังเกตจากการประชุม 
๑. สคบ. จะต้องปรับปรุงเว็บไซดเพื่อรองรับการดําเนินการตามแผนของ ACCP โดยจัดทําให้เป็นภาษาอังกฤษ
๒. การจัดเจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนภายในสํานัก/ กอง รวมถึงศูนย์รับเรื่องร้องเรียน และสายด่วน ๑๑๖๖ ที่มีความสามารถและทักษะการสื่อสารด้านภาษาอังกฤษ เพื่อรองรับการรับเรื่องร้องเรียน จากชาวต่างชาติทั้งที่เป็นนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในระยะสั้น และที่พํานักอยู่ในประเทศไทย ซึ่งมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
๓. การจัดตั้งคณะทํางาน ๒ คณะ คือ ๑) คณะทํางานรวบรวมและแจ้งเตือนสินค้าไม่ปลอดภัยของไทย และ ๒) คณะทํางานเยียวยาความเสียหายของผู้บริโภคซึ่งจะต้องบูรณาการการทํางานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
๔. ประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียน เช่น ลาว กัมพูชา พม่า จะขอเข้าสังเกตการณ์การดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคของไทย เช่น โครงการ สคบ. สัญจร การดําเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการสร้างเครือข่ายในสถานศึกษา เป็นต้น