Website
1166
facebook
twitterx
youtube
Instagram
pantip
TikTok
line
connect








พ.ร.บ.ขายตรงใหม่ใกล้วันดีเดย์ตัดสินชะตา

16 ส.ค. 2554

       "สคบ.” ย้ำ! การตั้งโต๊ะถก 4 สมาคมยกแรกไม่นับแต่ถือเป็นแนว ทางที่ดีที่จะเป็นการเปิดทางสู่การเปิดโต๊ะถกปัญหาเกี่ยวกับร่างประกาศครั้งใหม่ ชี้! ต้องเริ่มต้นกันใหม่ภายใต้การควบคุมดูแลของ "ครม.เพื่อไทย” ด้านพ.ร.บ.ฉบับที่ 3 ไม่น้อย หน้าติดตามการตั้งรัฐมนตรีใหม่
 
       เป็นที่ทราบกันดีว่า วันนี้รัฐบาลไทยได้เปลี่ยนขั้วการเมืองใหม่ไปอยู่ในมือของ "พรรคเพื่อไทย” ซึ่งการเปลี่ยน แปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ ทำ ให้หลายสิ่งหลายอย่างต้องหยุดชะงัก เพราะคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ ที่ จะเข้ามาทำงานสานต่อสิ่งต่างๆ ที่ยังวางค้างอยู่บนโต๊ะของ ครม.ชุดเดิม ซึ่งยังไม่สามารถมั่นใจได้ว่างานต่างๆ จะสานต่อไปได้หรือไม่ เพราะบางสิ่งอาจจะถูกโละทิ้งใหม่ แต่บางสิ่งก็อาจจะถูก นำมาใช้ได้เลยก็เป็นได้
 
       "ธุรกิจเครือข่ายขายตรง” ถือเป็น หนึ่งธุรกิจที่ "ถูกดองเค็ม” จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะร่างพระราชบัญญัติขายตรง และตลาดแบบตรงใหม่ พ.ศ....ที่ถูกร่างขึ้นมา เพื่อที่จะนำมาใช้ในการดูแล ควบคุมธุรกิจเครือข่ายขายตรงให้เข้มข้นเพิ่มมากขึ้น
 
       ซึ่งที่ผ่านมา "สำนักงานคณะ กรรม การคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)” ได้เรียก สมาคมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเครือข่ายขายตรง ซึ่งประกอบไปด้วย สมาคมการขายตรงไทย (TDSA) ซึ่งมีสมาชิก 29 บริษัท, สมาคมพัฒนาการขายตรงไทย (TSDA) ซึ่งมีสมาชิกเบื้องต้นประมาณ 13 บริษัท, สมาคมอุตสาหกรรมขายตรงไทย มีสมาชิกกว่า 10 บริษัท สมาคมนักธุรกิจอิสระ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการราย ใหม่ เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติขายตรง และตลาดแบบตรงใหม่ พ.ศ....ซึ่งเป็นการจัดเสวนาภายใต้หัวข้อเรื่อง "ค้าขายอย่างไร ให้ถูกกฎหมาย และถูกใจผู้บริโภค”
 
       ซึ่งมีการแบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมสัมมนาออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อนำเสนอความคิดเห็น ในหัวข้อเรื่องต่างๆ ซึ่งมีอยู่ 3 หัวข้อหลักคือ 1.ร่างพระราชบัญญัติขายตรง และตลาดแบบตรง พ.ศ...ซึ่งขณะนี้ คณะกรรม การกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาเสร็จแล้ว แต่ สคบ. เห็นควรให้มีการรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติม 2.ร่างประกาศคณะกรรมการ การขายตรงและตลาดแบบตรง ว่าด้วยลักษณะแผนการจ่ายผลตอบแทนของผู้ประกอบธุรกิจขายตรง และอัตราค่าธรรม เนียมการสมัครเข้าเป็นสมาชิกในธุรกิจขาย ตรง พ.ศ....และ 3. สืบเนื่องมาจาก สคบ. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคจำนวนมาก ซึ่งได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย จากผู้ประกอบธุรกิจขายตรง และธุรกิจแบบตรง ทำให้สมาคมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ขายตรง และตลาดแบบตรง ควรมีบทบาท หรือแนวทางในการควบคุมดูแลสมาชิกของตน เพื่อแก้ไขปัญหาที่มีการร้องเรียนที่เกิดขึ้น
 
       การเปิดเวทีเสวนาในวันนั้น ดูเหมือน จะกลายเป็นเพียงแค่การรับฟังความคิดเห็น และแนวทางในการเปิดเวทีครั้งต่อไปเท่านั้น เพราะร่างประกาศดังกล่าวดูเหมือนจะถูกพับใส่กระเป๋าไป เมื่อมีรัฐบาล ใหม่เข้ามาควบคุม ภายใต้การบริหารงาน ของ ครม.เพื่อไทย
 
       นายนิโรธ เจริญประกอบ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรม การคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า หลังมีรัฐบาลใหม่เข้ามาดูแล การร่างประกาศที่เกิดขึ้น รวมทั้งการร่างพระราชบัญญัติขายตรงฉบับที่ 3 ต้องชะงักไป และรอครม. ชุดใหม่เข้ามาจัดการ ซึ่งอาจจะมีการเปลี่ยนเกี่ยวกับบางเรื่องที่ทาง สคบ. นำเสนอไป
 
       ด้านนายสุวิทย์ วิจิตรโสภา ผู้อำนวย การส่วนขายตรงและตลาดแบบขายตรง สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาทาง สคบ. ได้ส่งร่างพระราชบัญญัติขายตรงฉบับที่ 3 ให้กฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณา โดยส่งไปที่สภาผู้แทนฯ แต่เนื่องจาก สภาฯ หมดวาระจึงต้องรอเข้าไปพิจารณาในสภาชุดใหม่แทน สำหรับประเด็นหลักที่ สคบ. ได้ส่งเข้าไปคือ เรื่องทุนจดทะเบียนขั้นต่ำของบริษัทขายตรงที่ต้องมีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท โดยประเด็นดังกล่าว ยังมีความเห็นที่หลากหลาย เมื่อถึงสภาฯ ชุดใหม่ที่เข้ามาดำเนินการ ก็จะมีการตั้งคณะกรรมการพิจารณา เพื่อทำการศึกษาให้ออกมาเป็นรูปธรรม และเชื่อว่า มีอีกหลายขั้นตอนกว่าจะออกมาเป็น พ.ร.บ.ที่ชัดเจน
 
       "เรื่องทุนจดทะเบียน หน่วยงาน รัฐเห็นสอดคล้องกับภาคเอกชนที่มอง ว่า การที่ให้มีการจดทะเบียน 10 ล้านบาทนั่น อาจจะเป็นการสกัดหรือปิดกั้นผู้ประกอบการ ก็มีความเป็นไปได้ แต่เรื่องนี้ ขึ้นอยู่กับ สภาฯ ชุดใหม่ที่จะเป็นผู้พิจารณา นอกจากนี้ ในเรื่อง การจ่ายผลตอบแทน ค่าธรรมเนียม ฯลฯ ที่มีการพูดคุยกันก่อนหน้านี้ ต้องมาเริ่มต้นกันใหม่กับ ครม. และสภาฯ ชุดใหม่”